Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service เจาะอินไซด์ธุรกิจด้วย Big Data

เบลนเดต้า (Blendata) บริษัท Deep Tech ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ เปิดตัวบริการใหม่ล่าสุด Analytics as a Service

Blendata

บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง (Pay Per Use) ยืดหยุ่นตามวัตถุประสงค์การวิเคราะห์ข้อมูล ต้องการผลลัพธ์น้อยจ่ายน้อย ใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น ช่วยให้องค์กรไม่ต้องลงทุนและแบกภาระด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ Service ต่าง ๆ ล่วงหน้า ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาดให้ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด เปิดเผยว่า เทรนด์การวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data analytics ยังคงเป็นเทรนด์ที่ถูกพูดถึงและมาแรงอย่างต่อเนื่องในธุรกิจยุคดิจิทัล องค์กรทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและมองหาเครื่องมือหรือวิธีการที่จะนำข้อมูลที่หมุนเวียนอยู่ในวงจรธุรกิจมาใช้เพื่อสร้างผลกำไรและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการสำรวจของ NewVantage Partners พบ 96% ของผู้ที่ลงทุนใน Big data และ AI เห็นผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อองค์กรและธุรกิจ

“อย่างไรก็ตาม แม้องค์กรและธุรกิจไทยจะเห็นความสำคัญในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ แต่หลายองค์กรยังคงต้องเผชิญกับปัญหาในการทำ Data analytics ทั้งปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายที่สูงมากและความล่าช้าในการวางระบบทั้ง Lifecycle ที่ต้องใช้เวลานาน 6 เดือนถึง 1 ปี กว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจไม่ทันต่อการแข่งขัน โดยจะต้องลงทุนและวางระบบทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การบริการที่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและการจ้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัด หรือในบางองค์กรที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์แค่ในบางแผนกหรือมีความถี่ในการวิเคราะห์ข้อมูลไม่มาก รวมถึงหากแผนกที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลไม่มีความรู้ด้านไอทีก็จะส่งผลให้ไม่มีทีมงานคอยดูแลระบบที่ต้องใช้ทักษะเชิงเทคนิค จากปัญหาทั้งหมดนี้หากองค์กรต้องการทำ Data analytics ทั้งระบบนั้น อาจเป็นการควักเงินลงทุนจำนวนมากโดยไม่จำเป็นและสิ้นเปลืองเวลา ซึ่งไม่คุ้มค่าและไม่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่ต้องการเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้งานต่ออย่างรวดเร็วเท่านั้นblendata-analytics-as-a-ser

Blendata ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี Big data platform อัจฉริยะ และผู้เชี่ยวชาญด้าน Big data and Analytics จึงได้สร้างบริการที่มีชื่อว่า Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจรในรูปแบบ as a Service ช่วยให้องค์กรตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลตามโจทย์ธุรกิจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยจุดเด่นของบริการนี้คือการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง (Pay per use) ในทุก ๆ ส่วน ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การบำรุงรักษาระบบ หรือการจ้างบุคลากรเฉพาะด้าน ซึ่งนับว่าเป็นการคิดค่าบริการในรูปแบบ Pay per use เจ้าแรกในประเทศไทย ช่วยให้องค์กรไม่ต้องแบกภาระด้านการลงทุนในระบบต่าง ๆ สามารถใช้บริการ Analytics as a Service ของ Blendata ได้ทันที เพียงแค่มีข้อมูล (Data) และความต้องการ (Requirement) เท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลาในการวางระบบด้านการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและนำไปใช้งานต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายจากการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลลงได้อีกด้วย” นายณัฐนภัสกล่าว

Analytics as a Service จาก Blendata ครอบคลุมการให้บริการ ดังนี้

วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยแพลตฟอร์ม Big data and advanced analytics (AI/ML) ประสิทธิภาพสูง โดยแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big data อย่าง Blendata Enterprise ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบริการและผลิตภัณฑ์ขององค์กรขนาดใหญ่ในไทยจำนวนมาก
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่พร้อมช่วยวางแผนแนวทางการใช้ข้อมูล การจัดเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลประเภท Descriptive และ Predictive ซึ่งเป็นทีม Data scientist, Data engineer และ Data analyst ที่ให้คำปรึกษาและมีประสบการณ์การพัฒนาโซลูชันด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับองค์กรหลากหลายแห่ง เชี่ยวชาญครอบคลุมในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิเช่น โทรคมนาคม ธนาคาร ประกัน สุขภาพ และอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น
ส่งออกผลลัพธ์ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Report (Excel, CSV และ PDF), Dashboard หรือ Visualization ด้วยเวลาที่รวดเร็ว สามารถนำไปใช้งานต่อยอดได้ทันที
รองรับการจัดการข้อมูลในทุก Environment ไม่ว่าจะเป็น On-premise, On-cloud และแบบ Hybrid environment
คิดค่าบริการตามการใช้งานจริง (Pay per use) ต้องการผลลัพธ์เท่าไหน จ่ายเท่านั้น องค์กรไม่ต้องแบกภาระด้านค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : ‘Gen AI’ สะเทือนโลก มนุษย์เสี่ยง ‘ตกงาน’ อื้อ

‘Gen AI’ สะเทือนโลก มนุษย์เสี่ยง ‘ตกงาน’ อื้อ

‘Gen AI’ สะเทือนโลก มนุษย์เสี่ยง ‘ตกงาน’ อื้อ

การมาของ Gen AI หรือ AI “ผู้สร้าง” ทำให้ตลาดฝั่งเอไอคึกคัก แต่ตลาดฝั่งแรงงานมนุษย์ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจและโรคระบาด เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างงาน

การถือกำเนิดของ Generative AI (Gen AI) หรือ AI “ผู้สร้าง” ถูกพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ Midjourney เอไอสายวาดภาพประกอบ, DALL-E เอไอเลียนแบบเสียงมนุษย์ และ ChatGPT แชทบอตตอบคำถามอัจฉริยะ ซึ่งยังมีเหล่าเอไอสายอาชีพไม่ว่าจะเป็น ทนายความหุ่นยนต์ อินฟลูเอนเซอร์หุ่นยนต์ นักข่าวหุ่นยนต์ ฯลฯ

เอไอเหล่านี้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ มีฝั่งที่ต้องการปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์ และฝั่งที่เป็นกังวลว่าเอไอจะเข้ามาทำให้โลกปั่นป่วน ด้านภาคอุตสาหกรรมมีเงินทุนหลายล้านดอลลาร์สะพัดในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปี 2022 ถูกขนานนามว่าเป็นปีทองของ “Generative AI”

และในปี 2023 นี้บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์ กูเกิล แอมะซอน ทวิตเตอร์ และเมตา ต่างทยอยกันปลดพนักงานหลายหมื่นคน ขณะที่ตลาดฝั่งเอไอกำลังคึกคัก แต่ตลาดฝั่งแรงงานมนุษย์ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจและโรคระบาด

เทคโนโลยี

ChatGPT และท่าทีของยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี

การเข้ามาของ ChatGPT แชทบอตอัจฉริยะที่สร้างโดยบริษัทโอเพนเอไอ ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมครั้งยิ่งใหญ่ในวงการเทคโนโลยี ผู้บริหารกูเกิล ส่งสัญญาณรหัสแดง ให้กับโปรแกรมเมอร์ และเรียกประชุมทีมครั้งใหญ่ เพื่อเร่งพัฒนาเอไอตัวใหม่ที่จะสามารถแข่งกับ ChatGPT ได้ เพราะกลัวว่าแชทบอตดังกล่าวจะเข้ามาคุกคามธุรกิจการค้นหา

นักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีชี้ว่า หากกูเกิลไม่ปรับตัวเรื่องการให้ความสำคัญกับโฆษณาและผลลัพธ์การค้นหาของสปอนเซอร์ อาจจะมีสิทธิ์ ‘ถูกโค่น’ ตำแหน่งสูงมาก เพราะคนจะหันมาใช้ ChatGPT ที่ไร้โฆษณาและตอบคำถามได้ตรงตัวแทน

คาดว่าเราอาจได้เห็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในการประชุมนักพัฒนาซอฟท์แวร์ประจำปีของกูเกิล หรือ I/O ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม

สิ่งที่น่าจับตามองอีกหนึ่งอย่างคือ บริษัทไมโครซอฟท์กำลังเจรจาลงทุนในบริษัท โอเพนเอไอ ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 3.34 แสนล้านบาท) โดยในข้อตกลงระบุให้ไมโครซอฟท์จ่ายเงินหลายงวดเป็นระยะเวลาหลายปี หากเจรจาสำเร็จไมโครซอฟท์จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโอเพนเอไอ

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ได้โพสต์บนบล็อกของบริษัทในวันที่ 17 ม.ค. ว่า เตรียมเพิ่ม ChatGPT ลงในระบบคลาวด์อาชัวร์ (Azure) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเครื่องมือได้หลากหลาย เช่น ระบบภาษา GPT-3.5 ที่เป็นพื้นฐานของ ChatGPT รวมไปถึงโมเดล Dall-E สำหรับสร้างรูปภาพจากคำสั่งภาษาในโปรแกรมพร้อมท์ (Prompts)

ไมโครซอฟท์ถือเป็นบริษัทที่หมกหมุ่นกับการพัฒนาเอไอเป็นอย่างยิ่ง สำนักข่าว Teachsauce รายงานว่า ปี 2019 ไมโครซอฟท์พยายามแซงหน้าแอมะซอน และกูเกิล ในด้านคลาวด์และเอไอ โดยเริ่มลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ ในโอเพนเอไอด้วยเงินสดและคลาวด์เครดิตซึ่ง ซึ่งในขณะนั้น โอเพนเอไอยังเป็นบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโก

และได้ลงทุนอย่างเงียบๆ อีก 2 พันล้านดอลลาร์ ร่วมพัฒนาระบบประมวลผลด้วย Artificial general intelligence (AGI) หลังบ้านร่วมกับ โอเพนเอไอมาโดยตลอด ส่วนโปรดักต์ของโอเพนเอไอนั้นก็ได้รับการดูแลสนับสนุนระบบโดยไมโครซอฟท์บน Azure AI Super-Computing Infrastructure อีกด้วย

ในปี 2022 ไมโครซอฟท์นำ DALL-E 2 ที่เป็น AI text-to-image model ของโอเพนเอไอมาใช้งานในอาชัวร์ และเมื่อเกิด ChatGPT ในปี 2023 ขึ้น ไมโครซอฟท์จึงเร่งหารือเพื่อลงทุนในข้อตกลง พร้อมแผนการนำมาใช้ในโปรดักต์หลากหลายแบบ

แนะนำข่าวเทคโนโลยีเพิ่มเติม : หลุดรัวๆ ภาพหลุดเคส SAMSUNG GALAXY S23 ชี้ว่าไลน์อัปนี้จะมีดีไซน์คล้าย ๆ กัน

หลุดรัวๆ ภาพหลุดเคส Samsung Galaxy S23 ชี้ว่าไลน์อัปนี้จะมีดีไซน์คล้าย ๆ กัน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีข่าวหลุดเกี่ยวกับไลน์อัป Samsung Galaxy S23

หลุดออกมารัว ๆ ทั้งสเปกและผลทดสอบ ซึ่งล่าสุดก็มีภาพหลุดออกมาเพิ่มเติม โดยในครั้งนี้เป็นเคสสำหรับไลน์อัป Samsung Galaxy S23 ที่จะมีดีไซน์คล้าย ๆ กันภาพดังกล่าวมาจากทิปสเตอร์ Ice Universe ที่เผยว่า Galaxy S23, S23+ (หรือ S23 Pro ตามรูปภาพด้านล่าง) และ S23 Ultra จะมาพร้อมดีไซน์โมดูลกล้องที่เรียงกันในน้ำที่หยดลงมาSamsung Galaxy S23 และ S23+ จะมีกล้อง 3 ตัวที่เรียกตัวในแนวตั้ง และมีแฟลช LED ที่ด้านขวาของกล้องตัวบนสุด ในขณะที่ Galaxy S23 Ultra จะมีวงกลม 5 วง ได้แก่ กล้อง 4 ตัว และ เซนเซอร์ Phase detection AF (PDAF) + Laser AF อีกทั้งจะมีขอบที่เหลี่ยมกว่า Galaxy S23 และ S23+