วันสตรีสากล 2566 ใครคือผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย ส่องลิสต์เศรษฐินีที่ต้องว้าว!

วันสตรีสากล 2566 ใครคือผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย ส่องลิสต์เศรษฐินีที่ต้องว้าว!

ธุรกิจ

วันสตรีสากล 2566 พาส่องทรัพย์ผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย มีใครบ้าง พร้อมส่องขุมทรัพย์ ทรัพย์สินแต่ละคนรวยระดับหมื่นล้าน

วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มี.ค. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมกันเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย และแน่นอนว่าผู้หญิงในยุคนี้ก็มีความเก่งในหลายๆ เรื่องทั้งเรื่องการเป็นผู้บริหารระดับประเทศ หรือระดับองค์ รวมถึงการเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุดในระดับประเทศ และในระดับโลก ซึ่งนิตยสารชื่อดังอย่าง Forbes ก็เคยมีการจัดอันดับผู้หญิงที่รวยในระดับมหาเศรษฐีกันมาแล้ว

ขอร่วมกระแสวันสตรีสากล ด้วยการพาไปรู้จักผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย พร้อมกับส่องขุมทรัพย์ สินทรัพย์ รวมถึงธุรกิจของพวกเธอมาฝากทุกคนกัน

ข้อมูลจาก Forbes เคยจัดอันดับมหาเศรษฐีไทยปีล่าสุด (2565) พบรายชื่อผู้หญิงที่รวยติดอันดับมีถึง 4 คนด้วยกัน ดังนี้

Nishita Shah (นิชิต้า ชาห์)
ทรัพย์สิน 1.3 พันล้านเหรียญ หรือราว 4.57 หมื่นล้านบาท

ทายาทสาวของบริษัทขนส่งทางทะเล ผู้บริหาร GP Group ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน 150 ปี ธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ในฐานะทายาทรุ่น 3 ของนักธุรกิจชาวอินเดียที่เข้ามาทำกิจการในไทย ทั้งเป็นลูกสาวคนโตในอาณาจักรซึ่งทำธุรกิจหลากหลายตั้งแต่เดินเรือ ยา อาหารเสริม ก่อสร้าง พลังงาน เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ อะลูมิเนียม โรงแรม ส่งออกสินค้าเกษตร นายหน้าประกันภัย ไปจนถึงซอฟต์แวร์และเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว

ปัจจุบัน Nishita ยังคงดำเนินรอยตาม Kirit Shah ผู้เป็นพ่อ นั่นคือการเล็งหาธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจเพื่อเข้าไปลงทุน โดยเธอมีความสนใจในธุรกิจยา สุขภาพ และการศึกษา เป็นหลัก แต่ก็เปิดโอกาสให้กับสตาร์ทอัพด้านอื่นเช่นกันหากมีความน่าสนใจ โดย GP Group มีเม็ดเงินเตรียมพร้อมลงทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และล่าสุดร่วมเป็นฉลามในรายการ Shark Tank Thailand เอ็มดีหญิงของ GP Group กล่าวว่าเธอต้องไปฝึกสนทนาภาษาไทยอย่างเข้มข้นก่อน

น.ส.ศุภลักษณ์ อัมพุช
ทรัพย์สิน 1 พันล้านเหรียญ หรือราว 3.52 หมื่นล้านบาท

ราชินีค้าปลีก “ศุภลักษณ์ อัมพุช” ผู้นำหญิงของ เครือเดอะมอลล์ เชนค้าปลีกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ อาณาจักรค้าปลีกของตระกูลสร้างรายได้ให้กว่า 5.8 หมื่นล้านบาทในปี 2561 และพี่น้อง 6 คนของเธอก็ร่วมบริหารอยู่ในอาณาจักรนี้ด้วย

เครือเดอะมอลล์บริหารศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือ สยามพารากอน และ เอ็ม ดิสทริค จุดหมายปลายทางแห่งการช็อปปิ้งระดับลักชัวรีซึ่งประกอบด้วย ดิ เอ็มโพเรียม ดิ เอ็มควอเทียร์ และที่กำลังก่อสร้างคือ ดิ เอ็มสเฟียร์ ซึ่งจะมีศูนย์รวมศิลปะและการแสดงขนาดใหญ่อยู่ภายใน มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมจับมือ AEG ผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก สร้าง สนามกีฬา 2 แห่งเพื่อเติมเต็มจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ “ดิ เอ็มดิสทริค” แห่งนี้

เธอยังวางเป้าให้เครือเดอะมอลล์ทำยอดขายแตะ “แสนล้านบาท” ให้ได้ภายใน 6 ปี นับว่าเป็นเป้าที่ท้าทายไม่น้อย ท่ามกลางแรงกดดันจากเทคโนโลยีที่ช็อปปิ้ง ออนไลน์ที่กำลังไล่บี้ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก แต่ศุภลักษณ์มั่นใจว่ารับมือได้ พร้อมกางแผนลงทุน 6 ปีข้างหน้าพัฒนาศูนย์การค้า แห่งใหม่ “แบงค็อก มอลล์” มิกซ์ยูสมูลค่า 5 หมื่นล้านบาท บนที่ดินกว่า 100 ไร่ บริเวณสี่แยกบางนา ที่มีเจ้าสัว ชาลี โสภณพนิช เป็นหุ้นส่วน

ศุภลักษณ์ พยายามค้นหา Winning Formula ที่สร้างห้างค้าปลีกของเธอให้ประสพความสำเร็จดั่งอดีต ท่ามการแข็งขันโดยเฉพาะกำลังซื้อบนลงดิจิทัล ล่าสุดร่วมมือกับ AEG ซึ่งก่อตั้งโดย Philip Anschutz มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน เจ้าของธุรกิจหลายอย่างทั้งพลังงาน เป็นเจ้าของมหกรรมดนตรีอันดับหนึ่งของโลก Coachella ที่มีคนร่วมกว่า 1 ล้านคนทุกปี

โดย AEG เตรียมลงทุนหลักหมื่นล้านเพื่อสร้าง “อารีน่า” จัดคอนเสิร์ตและจัดงานอีเวนต์ระดับโลก 2 แห่ง ในช่วง 5 ปีนี้ คือ EM LIVE ในศูนย์การค้า เอ็มสเฟียร์ ความจุ 6,000 ที่นั่ง และ แบงค็อก อารีน่า ในโครงการแบงค็อก มอลล์ บางนา ความจุ 16,000 ที่นั่ง ซึ่งต้องติดตามต่อเนื่องจากการสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ
ทรัพย์สิน 925 ล้านเหรียญ หรือราว 3.25 หมื่นล้านบาท

คาราบาวกรุ๊ป ยังคงรั้งอันดับสองในศึกชิงจ้าวเครื่องดื่มชูกำลัง โดยมี โอสถสภาฯ รั้งหมายเลขหนึ่ง การเป็นสปอนเซอร์ในการแข่งขันฟุตบอลของ คาราบาวกรุ๊ป ต่อเนื่องทำให้หุ้นของคาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG เป็นที่สนใจในชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคชาวอังกฤษของคาราบาวอยู่ในกลุ่ม 25-34 ปี เป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่ง

สำหรับ “ณัฐชไม” แยกตัวออกมาจากธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงินของครอบครัว เพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับเสถียร ก่อนที่ในปี 2542 จะก่อตั้งโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ซึ่งเป็นทั้งโรงเบียร์ขนาดเล็กและร้านอาหาร ถัดมา 2 ปี ทั้งคู่จับมือเป็นพันธมิตรกับ แอ๊ด คาราบาว ศิลปินเพื่อชีวิตชื่อดัง เพื่อเจาะตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ
ทรัพย์สิน 710 ล้านเหรียญ หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาท

ประธานกลุ่มไทย ซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของประเทศ ที่ก่อกำเนิดจากร้านรับทำเบาะมอเตอร์ไซค์ของ 2 พี่น้อง สรรเสริญ จุฬางกูร และ พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ สามีผู้ล่วงลับของสมพร ร่วมกันสร้างแล้วค่อยแยกกันโต สร้างอาณาจักรชิ้นส่วนยานยนต์ของตัวเองมูลค่านับหมื่นล้านบาท

ไทยซัมมิทกรุ๊ป ได้ทำสัญญาเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์น้ำหนักเบา เทคโนโลยีที่ไทยซัมมิทกรุ๊ปพัฒนาขึ้นมาเองเพื่อส่งมอบให้กับ Tesla inc. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สำหรับใช้เป็นโครงสร้างรถยนต์ Tesla ในโมเดล 3 รุ่นล่าสุด ในระยะ 4-5 ปี ต่อจากนี้

ปีที่ผ่านมาถึงเป็นช่วงที่วุ่นวายต่อ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นอย่างมากเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ ทำให้ บริษัทลูกอย่าง บริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟฯ ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ประกาศหยุดการทำงานชั่วคราวเฉพาะที่เป็นชิ้นส่วนเหล็ก หรือ Plantที่3 และการให้กำลังต่อลูกชาย เช่น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกตัดสิทธิทางการเมือง

อัพเดทธุรกิจ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม : OR ตั้งงบลงทุนปี 66 ลุยขยายร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน และเท็กซัส ชิคเก้นเพิ่ม

OR ตั้งงบลงทุนปี 66 ลุยขยายร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน และเท็กซัส ชิคเก้นเพิ่ม

OR ตั้งงบลงทุนปี 66 ลุยขยายร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน และเท็กซัส ชิคเก้นเพิ่ม

ธุรกิจ

ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก ตั้งงบลงทุนปี 66 กว่า 31,197 ล้านบาท แบ่ง 14,193 ล้านบาท ลุยขยายร้านกาแฟ Café Amazon และเท็กซัส ชิคเก้นเพิ่ม

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 66 เราได้เตรียมงบลงทุน 31,197 ล้านบาท มุ่งเน้นการขยายและสร้างความแข็งแกร่งของ Business Value Chain ของ กลุ่มธุรกิจ Lifestyle

โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 14,193 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45% ของงบลงทุน ในการขยายสาขาร้านคาเฟ่ อเมซอน หรือ Café Amazon และร้าน เท็กซัส ชิคเก้น หรือ Texas Chicken รวมไปถึงการแสวงหาพันธมิตรและการลงทุนใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ

นอกจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม หรือ F&B แล้ว OR ยังให้ความสำคัญในกลุ่มธุรกิจด้าน Health & Wellness และ Tourism ด้าน กลุ่มธุรกิจ Mobility มุ่งรักษาความเป็นผู้นำใน Mobility Ecosystem ทั้งในแง่การขยายสาขา PTT Station และ EV Station PluZ รวมถึงการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในธุรกิจ EV ของกลุ่ม ปตท. อย่างเป็นระบบ

รวมไปถึงการลงทุนใน Green Energy เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของแหล่งพลังงาน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะต้องการพลังงานชนิดใดสำหรับการเดินทาง เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 6,799 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22% ของงบลงทุน

สำหรับ กลุ่มธุรกิจ Global ยังคงมุ่งขยายการลงทุนในการเปิด PTT Station และ Café Amazon ผ่านบริษัทในเครือในต่างประเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในประเทศที่ OR ได้เข้าไปดำเนินการแล้ว พร้อมแสวงหาโอกาสในการลงทุนในประเทศใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 4,954 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 16% ของงบลงทุน

อัพเดทธุรกิจ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม :  สิ้นสุดการรอคอย TESLA เปิดตัวราคาในไทยแล้ว เริ่มต้น 1,759,000 บาท

สิ้นสุดการรอคอย Tesla เปิดตัวราคาในไทยแล้ว เริ่มต้น 1,759,000 บาท

หลังมีข่าวเข้ามาทำตลาดในไทยอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ช่วงกลางปี

ล่าสุด ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก Tesla ได้จัดอีเวนต์ใหญ่เปิดตัวรถยนต์ 2 รุ่นที่จะนำเข้ามาขายในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว

ซึ่งก็คือ Model 3 ราคาเริ่มต้น 1,759,000 ล้านบาท และ Model Y ราคาเริ่มต้น 1,959,000 บาท

สำหรับ Model 3 เป็นรถรุ่นเริ่มต้นของ Tesla โดยมาพร้อมรุ่นย่อย 3 รุ่น ดังนี้

-รุ่นสแตนดาร์ด ขับเคลื่อนล้อหลัง ระยะทางขับขี่ 559 กม. ความเร็วสูงสุด 225 กม./ชม. อัตราเร่ง 6.1 วินาที (ราคา 1,759,000 บาท)

รุ่นมอเตอร์คู่ ขับเคลื่อนสี่ล้อ มี 2 รุ่นคือ

-Long Range ระยะทางขับขี่ 681 กม. ความเร็วสูงสุด 233 กม./ชม. อัตราเร่ง 4.4 วินาที (ราคา 1,999,000 บาท)

-Performance ระยะทางขับขี่ 608 กม. ความเร็วสูงสุด 261 กม./ชม. อัตราเร่ง 3.3 วินาที (ราคา 2,309,000 บาท)

สำหรับ Model Y เป็นรถรุ่นที่พัฒนาต่อยอดมากจาก Model 3 ของ Tesla โดยมาพร้อมรุ่นย่อย 3 รุ่น ดังนี้

-รุ่นสแตนดาร์ด ขับเคลื่อนล้อหลัง ระยะทางขับขี่ 510 กม. ความเร็วสูงสุด 217 กม./ชม. อัตราเร่ง 6.9 วินาที (ราคา 1,959,000 บาท)

รุ่นมอเตอร์คู่ ขับเคลื่อนสี่ล้อ มี 2 รุ่นคือ

-Long Range ระยะทางขับขี่ 623 กม. ความเร็วสูงสุด 217 กม./ชม. อัตราเร่ง 5.0 วินาที (ราคา 2,259,000 บาท)

-Performance ระยะทางขับขี่ 582 กม. ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. อัตราเร่ง 3.7 วินาที (ราคา 2,509,000 บาท)

โดยมาพร้อมเทคโนโลยีระบบช่วยขับขี่ Autopilot ระบบดาวน์โหลดออนไลน์ Over-the-Air ระบบควบคุมผ่านแอปพลิเคชันมือถือ แผนที่และระบบนำทางพร้อมด้วยการรายงานสภาพจราจรแบบเรียลไทม์

การรับประกัน ยานพาหนะ 4 ปี หรือ 80,000 กม. แบตเตอรี่และระบบขับเคลื่อน 8 ปี หรือ 160,000 กม. (ขับเคลื่อนล้อหลัง) แบตเตอรี่และระบบขับเคลื่อน 8 ปีหรือ 192,000 กม. (Long Range และ Performance)

ทั้งนี้ Supercharger (ซูเปอร์ชาร์จเจอร์) แห่งแรกของ Tesla ในประเทศไทยจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2566 ผู้ขับ Tesla จะสามารถเข้าถึงสถานี Supercharging ได้ถึง 10 แห่งภายในปี พ.ศ. 2566 โดยเจ้าของรถสามารถชาร์จรถได้ระยะทางไกลถึง 275 กม. ในเวลาเพียง 15 นาที

สำหรับรถทุกรุ่นที่จะถูกส่งมอบเป็นชุดแรกในไตรมาสที่ 1 เจ้าของ Tesla จะได้รับสิทธิพิเศษในการซื้อแพ็คเกจ Home Charging แบบพรีเมียมที่มีจำนวนจำกัด พร้อมสไตล์และสีที่สามารถปรับแต่งได้ ตลอดจนการเข้าประเมินสถานที่และการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งที่ได้รับการรับรองจาก Tesla

สำหรับประเทศไทย การสั่งซื้อบน Configuration ออนไลน์สำหรับรถรุ่น Model 3 และ Model Y จะเปิดตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยจะมีการส่งมอบรถทุกรุ่นเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2566

นอกจากนี้ Tesla ได้มีการตั้งเป้าเปิดศูนย์บริการ Tesla แห่งแรกในไตรมาสที่ 1 ทันทีหลังจากการส่งมอบรถชุดที่ 1 เพื่อที่จะสามารถให้บริการที่มีมาตรฐานระดับโลกแก่เจ้าของรถทุกคนในประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ชมรมบัตรเครดิตฯ เตรียมหารือแบงก์ชาติ จากข่าวคุมแคมเปญเงินกู้

ชมรมบัตรเครดิตฯ เตรียมหารือแบงก์ชาติ จากข่าวคุมแคมเปญเงินกู้

ชมรมบัตรเครดิตฯ เตรียมหารือแบงก์ชาติ จากข่าวคุมแคมเปญเงินกู้

ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต มีแผนเข้าพูดคุยกับแบงก์ชาติ หลังมีรายงานข่าวว่า ธปท.เตรียมคุมเข้มการทำแคมเปญเงินกู้ เพื่อดูแลหนี้ครัวเรือน

ธุรกิจ ชมรมบัตรเครดิตฯ เตรียมหารือแบงก์ชาติ

‘อธิศ รุจิรวัฒน์’ ประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต – สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยสื่อกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแผนออกกฎเกณฑ์กำกับการโฆษณาและแคมเปญที่กระตุ้นประชาชนก่อหนี้ ว่า

เบื้องต้น เข้าใจว่าเป็นการขอความร่วมมือจากแบงก์ชาติ ซึ่งทางชมรมฯ มีแผนเข้าพูดคุยกับ ธปท.เพื่อแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน และเพื่อหาทางออกในการแก้ไขประเด็นหนี้ครัวเรือนร่วมกัน

ทั้งนี้ มองว่าการควบคุมดูแลจะต้องพิจารณาว่า จะเข้าควบคุมดูแลหมวดร้านค้าใด สินค้าประเภทใด และเซกเมนต์ใดของลูกค้า เช่น เซกเมนต์เปราะบางเท่านั้นหรือไม่ หรือไม่จำเป็นต้องควบคุมในกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง เพราะดูแลตัวเองได้หรือไม่ เป็นต้น

แม้หลายคนจะมองว่าบัตรเครดิตก็เป็นสินเชื่อประเภทหนึ่ง แต่ต้องอธิบายว่า บัตรเครดิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้จ่าย (Payment) และหากพูดถึงการควบคุมดูแลการก่อหนี้แล้ว จะต้องเข้าไปดูแลเรื่องวินัยในการใช้หนี้ร่วมด้วย

เมื่อสอบถามถึงการผ่อน 0% ประธานชมรมฯ ระบุว่า มากกว่า 90% ไม่ได้นำไปหมุนเงินอยู่แล้ว โดยหนี้ที่มีลักษณะนำเงินไปหมุนเวียน เป็นกลุ่มที่กดเงินสดมากกว่า

ส่วนภาระที่ลูกค้าจะต้องแบกรับนั้น สำหรับบัตรเครดิตก็ไม่มี เพราะเป็นการผ่อนสินค้าด้วยโปรโมชั่น 0% ลูกค้าไม่ได้เสียประโยชน์หรือถูกเรียกเก็บดอกเบี้ย จึงเป็นการช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบามากกว่า

ยกตัวอย่างเช่น ในอดีตเวลาซื้อของที่มีมูลค่าสูง ลูกค้าจะต้องจ่ายด้วยเงินก้อน แต่การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่สามารถผ่อนรายเดือนได้ เป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า และยังมีสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะ Cash Back จ่ายคืนให้ลูกค้าด้วย

สำหรับการออกแคมเปญการตลาด หรือการออกโฆษณาที่กระตุ้นให้ลูกค้าใช้จ่ายเกินความจำเป็นนั้น ‘อธิศ’ ยกตัวอย่างในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการ บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ว่า

ในหมวดที่มีความจำเป็น เช่น การเติมน้ำมัน การรับประทานอาหาร หรือการซื้อของ เป็นต้น ในส่วนสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods) ไม่มีการออกแคมเปญกระตุ้นการใช้จ่ายในวงกว้าง และเลือกทำกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง (Premium) เท่านั้น