ผ่าคลอดแบบดมยาสลบ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร? คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

ผ่าคลอดแบบดมยาสลบ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร? คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

เด็ก

การผ่าคลอดมีหลายวิธี ก่อนผ่าคลอดแพทย์จะทำการปรึกษากับคุณแม่ และหาวิธีที่เหมาะสม และดีที่สุดให้กับคุณแม่ เพื่อลดความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และหนึ่งในนั้นก็คือ การผ่าคลอดแบบดมยาสลบ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะช่วยลดความกังวลให้กับคุณแม่ได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ การผ่าคลอดแบบดมยาสลบ มีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้าง เรามาดูกันดีกว่า

ผ่าคลอดแบบดมยาสลบ คืออะไร?

การผ่าคลอดแบบดมยาสลบคือ เป็นการผ่าคลอด โดยการดมยาสลบในรูปแบบก๊าซผ่านหน้ากากครอบ ขณะที่ทำการผ่าคลอด คุณแม่จะไม่รู้สึกตัว จนกว่ายาจะหมดฤทธิ์ ซึ่งก่อนจะทำการดมยาพยาบาลจะทำการติดเครื่องวัดสัญญาณชีพ มีการวัดความดันโลหิต วัดคลื่นหัวใจ และวัดออกซิเจนในเลือด จากนั้นก็จะนำออกซิเจนมาให้คนไข้ดม และจะฉีดยาเข้าทางสายน้ำเกลือ ซึ่งระหว่างที่คุณแม่ดมยาสลบจะไม่สามารถหายใจได้ ทำให้คุณหมอจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจด้วย ระหว่างที่ผ่าคลอด คุณแม่จะไม่รู้สึกตัว และจะรู้สึกตัวอีกทีเมื่อพยาบาลปลุกหลังผ่าคลอดเสร็จ

ข้อดีของการผ่าคลอดแบบดมยาสลบ

  • คุณแม่จะไม่เกิดความกังวลระหว่างผ่าคลอด เพราะการผ่าคลอดเป็นวิธีที่แพทย์ได้ทำการควบคุมอยู่ในความดูแลของแพทย์ คุณแม่จึงหมดความกังวล และเรื่องความเจ็บปวดได้เลย
  • แพทย์สามารถควบคุมความดันโลหิตของคนไข้ได้ เพราะการผ่าตัดแบบดมยาสลบนั้นแพทย์จะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถควบคุมระบบการหายใจ และระบบความดันของคุณแม่ให้ปกติตลอดการผ่าคลอด
  • สามารถผ่าคลอดได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน และเหมาะกับการคลอดในภาวะเร่งด่วน

ข้อเสียของการผ่าคลอดแบบดมยาสลบ

  • อาจเกิดภาวะผลข้างเคียงหลังจากการใช้ยาสลบเช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการหลังจากใช้ยาสลบ อาการนี้จะเกิดสักพัก หลังจากพักฟื้นตัว
  • ปวดแผลจากการผ่าคลอด แน่นอนว่าตอนคลอดแบบดมยาสลบ คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่หลังจากที่ฟื้นขึ้นมาแล้ว จะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผลมากกว่าการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง แต่สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  • ความเสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยาก เพราะระหว่างที่ดมยาสลบ จำเป็นจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
  • เสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนต่ำ

การผ่าตัดแบบดมยาสลบ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการผ่าตัดคลอดสำหรับคุณแม่ที่ไม่อยากคลอดแบบธรรมชาติ วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่จะมีผลข้างเคียงเล็กน้อยจากการคลอด แต่หากในกรณีที่จำเป็นที่จะต้องผ่าคลอด วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้แล้ว

แนะนำข่าวเด็ก อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เทคนิคคุยกับลูก ฝึกลูกพูดตามวัย

เทคนิคคุยกับลูก ฝึกลูกพูดตามวัย

เทคนิคคุยกับลูก ฝึกลูกพูดตามวัย เสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี

การเรียนรู้ การตอบสนอง และการสื่อสารกับเด็กในช่วงขวบปีแรกมีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก หากพ่อแม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับวัย รวมถึงพยายามพูดคุยกับลูกอยู่เป็นประจำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  และยังสามารถเห็นถึงพัฒนาการของลูกรักได้อย่างชัดเจน อีกทั้งการเฝ้ามองลูกน้อยในทุก ๆ วันจะทำให้พ่อแม่สามารถสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของลูกน้อยได้

พัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กอายุ 1 – 12 เดือน ในแต่ละช่วงวัย

ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 1 – 12 เดือน ย่อมมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เช่น เด็กอายุ 3-6 เดือนจะเริ่มพูด ส่วนเด็กอายุ 6-9 เดือน จะสามารถรับรู้ชื่อของตนเองได้ ซึ่งการแสดงออกถึงพัฒนาการเหล่านี้ของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางคนมีพัฒนาการช้า บางคนมีพัฒนาการไว และพัฒนาการในแต่ละเดือนนี้เองที่พ่อแม่ควรทราบ จะได้รู้ว่าตอนนี้ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

  • เด็กอายุ 1-2 เดือน เริ่มมีการเล่นเสียงในลำคอ เช่น การร้องไห้ ไอ หรือหาว และจะแสดงอาการตกใจจนสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดังกะทันหัน
  • เด็กอายุ 3-4 เดือน เริ่มยิ้มเมื่อได้ยินเสียงพ่อแม่หรือคนที่คุ้นเคยใกล้ชิด เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ หรือเสียงอู/อา จากการพยายามพูดกับพ่อแม่ และจะเงียบเสียงเมื่อต้องการฟังพ่อแม่พูด
  • เด็กอายุ 5-6 เดือน เด็กจะเริ่มเล่นเป่าน้ำลาย เริ่มหันหาเสียงเสียงรบกวนที่ไม่ดังมากนัก เริ่มเล่นเสียงบริเวณริมฝีปาก สามารถเลียนแบบเสียงของผู้อื่นได้ มีการเล่นเสียงทีละพยางค์หรือสองพยางค์ เช่น “บา” “ดา” “มา”รวมถึงมีการตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อของตัวเอง
  • เด็กอายุ 7-8 เดือน จะสามารถจำชื่อตัวเองได้แล้ว รู้จักการเขินอายหรือกลัวคนแปลกหน้า สามารถฟังคำถามง่าย ๆ มีการตอบสนองออกมาด้วยภาษาท่าทางแทนการพูดได้ เช่น มองดู ชี้ หยิบ และสามารถเล่นเสียงหลายพยางค์ได้ เช่น “ดาดาดา” “บาบาบา” เป็นต้น
  • เด็กอายุ 9-12 เดือน จะมีการโต้ตอบกับพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดแต่ยังไม่เป็นภาษา ยังคงชอบที่จะเลียนแบบเสียงของผู้อื่นอยู่แต่สามารถเลียนเสียงแปลก ๆ ได้ เช่น เสียงเห่าของสุนัข และเสียงจิ้งจกร้อง เริ่มทำเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ เริ่มพูดได้เป็นคำพยางค์เดียวที่มีความหมายได้ 2-3 คำ เช่น “พ่อ” “แม่” “หม่ำ” เป็นต้น และสามารถใช้ท่าทางสื่อความหมายต่อคำพูด เช่น การพยักหน้า และการสั่นหัว ทำตามคำสั่งได้ เช่น การโบกมือบ๊ายบาย การส่งจูบ เป็นต้น เพราะลูกน้อยเข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ แล้ว และสามารถทำตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบได้

เด็ก

7 วิธีคุยกับลูกน้อย ทำอย่างไรให้ลูกเข้าใจและสื่อสารได้

การเตรียมพร้อมก่อนที่จะสอนลูกพูดจะช่วยให้พ่อแม่ทราบว่าในขณะนั้นลูกน้อยพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ หากลูกอยู่ในช่วงอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด หรือร้องไห้โยเย แสดงว่าน้องยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ต้องรอให้เด็กสงบลงก่อน  สำหรับวิธีกระตุ้นการพูดกับลูก มีวิธีดังนี้

  1. เล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์ การเล่นกับลูกจะช่วยฝึกฝนพัฒนาการทางด้านการพูดและการสื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยพ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมของลูกด้วย เช่น เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เล่นซ่อนของ เล่านิทานให้ลูกฟังพร้อมใช้ท่าทางประกอบเพื่อให้ลูกสนใจและสนุกสนานมากขึ้น หรือจะร้องเพลงสำหรับเด็กให้ลูกฟัง โดยพ่อแม่ต้องพยายามร้องซ้ำ ๆ ร้องบ่อย ๆ เพราะเด็กจะใช้เวลาในการจดจำในสิ่งที่ได้ยิน การเล่นของเด็ก คือ การเรียนรู้ การฝึกทักษะ การแก้ปัญหา และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูก
  2. คุยกับลูกบ่อย ๆ พ่อแม่ควรขยันคุยกับลูกให้มาก ๆ และควรพูดให้กระชับ ใช้น้ำเสียงที่เน้นคำพร้อมกับทำกิจกรรมไปด้วย เช่น ถอดเสื้อ กินข้าว อาบน้ำ สำหรับเด็กเล็กอาจจะใช้วิธีตั้งคำถามกับลูก เช่น คนไหนแม่ หมาอยู่ไหน กล้วยอยู่ไหน หลังจากนั้นควรรอให้ลูกตอบคำถามเพื่อสังเกตว่าลูกเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดหรือไม่ หากลูกไม่แน่ใจพ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยการจับมือชี้ไปที่คำตอบของคำถามนั้น
  3. สบตากับลูกน้อย เมื่อพ่อแม่ต้องการสอนลูกให้รู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ รอบตัว จำเป็นต้องมองที่ใบหน้าของลูก เพราะลูกน้อยจะใช้วิธีการสบตา และอ่านรูปปากของพ่อแม่เช่นเดียวกัน หากพ่อแม่ต้องการสอนคำศัพท์อะไร ให้หยิบสิ่งนั้นมาไว้ใกล้ปากแล้วพูดคำนั้นออกมา เด็กจะทำความเข้าใจต่อสิ่งนั้นพร้อม ๆ สังเกตรูปปาก เพราะการที่จะเริ่มสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ นั้น พ่อแม่ต้องให้ลูกเข้าใจต่อสิ่งที่ต้องการสอนก่อน
  4. สอนพูดเป็นคำ ๆ การเริ่มต้นสอนพูดพ่อแม่ควรเลือกสอนคำเดี่ยว ๆ ที่ลูกน้อยสามารถมองเห็นรูปปากได้ชัดเจน รวมถึงต้องเลือกคำที่สามารถออกเสียงได้ง่าย เช่น คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ม” ได้แก่ แม่ หมา หรือ คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ป” ได้แก่ ปาก ปลา ปู เป็นต้น รวมถึงควรเลือกคำที่อยู่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันจะสามารถช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงคำนั้นได้ เกิดความเข้าใจต่อคำนั้นได้ดี และสามารถจดจำคำนั้นได้ในที่สุด
  5. ออกเสียงให้ชัด จังหวะในการพูด การสื่อสารของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าลูกพ่อแม่เป็นคนเริ่มพูดคุยกับลูก ต้องรอให้ลูกตอบก่อนแล้วค่อยพูดกับลูกต่อ การพูดสลับกันแบบนี้จะทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ว่าเมื่อใดเป็นการสิ้นสุดคำถามได้ เพื่อเป็นการบอกว่าตอนนี้ถามเสร็จแล้วลูกต้องตอบนะ ออกมา เช่น แม่ถามว่า “นี่อะไร” แต่ถ้าถามแล้วลูกไม่แสดงอาการ อาจจะกระตุ้นลูกโดยการจ้องหน้าแล้วถามอีกครั้ง แล้วพยายามเน้นคำ ออกเสียงให้ชัดเจน พร้อมกับพูดช้า ๆ ลูกจะได้พูดตามได้ หากลูกมีการเล่นระดับเสียงพ่อแม่ก็ควรออกเสียงสูงต่ำตามลูกด้วย ถ้าลูกสามารถพูดเป็นคำได้แล้ว พ่อแม่สามารถเริ่มสอนคำที่ยาวขึ้น หรือสอนประโยคสั้น ๆ ได้
  6. เน้นให้ลูกพยายามสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ของลูกพ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมด้วย แต่ควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและเปิดจังหวะให้ลูกพยายามสื่อสารด้วยตัวเองจากภาษาท่าทางต่าง ๆ อย่าบังคับให้ลูกพูด เช่น ให้ลูกชี้ตอบ เดินไปหยิบสิ่งของ เป็นต้น หากลูกมีการโต้ตอบแบบไม่เป็นภาษา หรือเป็นภาษาที่พูดแม่ไม่เข้าใจ พ่อแม่ควรพยายามเดาว่าลูกต้องการพูดอะไร แล้วพูดตอบในเรื่องนั้นออกมา
  7. ชื่นชมลูก พ่อแม่ควรชมเชยหรือให้รางวัลแก่ลูก เช่น การปรบมือ หรือยิ้มแย้มให้กับลูกเมื่อลูกทำตามคำสั่งได้สำเร็จแม่จะเป็ความสำเร็จเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะคำชม เป็นกำลังใจที่เป็นแรงผลักดันให้ลูกอยากทำอะไรก็ตามให้สำเร็จ ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้อยเอง แม้ว่าสิ่งที่ต้องทำนั้นเป็นสิ่งที่ยากและไม่เคยทำมาก่อน ทำให้เด็กสามารถก้าวผ่านความกลัว ความยากลำบากไปได้ ดังนั้น คำชมเล็ก ๆ อาจเป็นตัวกระตุ้นพัฒนาการที่ดี และความสำเร็จในทุก ๆ ด้านของลูกในอนาคตได้