ปรับเปลี่ยนมุมมอง “โรคอ้วน” ผลักดันคนไทยใส่ใจรักษาสุขภาพ

เนื่องด้วยวันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอ้วนโลก และในปีนี้ สหพันธ์โรคอ้วนโลก ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ คือ “Changing Perspectives: Let’s Talk about Obesity” หรือในภาษาไทยคือ “ปรับเปลี่ยนมุมมอง

โรคอ้วนคุยกันได้” เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้และการสื่อสารเกี่ยวกับโรคอ้วนให้กับประชาชนอย่างถูกต้องเหมาะสม เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เกี่ยวกับโรคอ้วน

“ประชากรมากกว่า 4 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตจากการที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน”

คนที่มี “ภาวะน้ำหนักเกิน” และ “ภาวะอ้วน” มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปัจจุบัน โรคอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยจากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในปี 2562 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย พบว่า:

  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี: มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 8.8 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 9.2 ในปี 2562
  • เด็กอายุ 6 – 14 ปี: (จากฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข) มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 11.7 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 12.4 ในปี 2564
  • วัยผู้ใหญ่อายุ 19 ปีขึ้นไป: (จากคลังข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข) มีแนวโน้มอ้วนมากขึ้น พบว่าเป็นโรคอ้วนหรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม/เมตร2 มากถึงร้อยละ 45.6 ในปี 2563 และเพิ่มเป็นร้อยละ 46.2 ในปี 2564 และร้อยละ 46.6 ในปี 2565

โรคอ้วน คืออะไร และเกิดจากอะไร ?

โรคอ้วน ในทางการแพทย์เรียกว่า Obesity หมายถึง ความผิดปกติของไขมันสะสมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยเกณฑ์ของโรคอ้วนของคนไทย มีดังนี้:

  • ผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีขึ้นไป: พิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) ซึ่งคำนวนจาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง โดยค่า BMI 23 – 24.90 แสดงถึงน้ำหนักเกิน และ ค่า BMI 25 ขึ้นไปแสดงถึงโรคอ้วน
  • เด็กและวัยรุ่น อายุ 0 – 19 ปี: พิจารณาจากกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเด็กซึ่งจะแตกต่างตามอายุ 0 – 5 ปี และ 6 – 19 ปี

โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วน คือ ความไม่สมดุลของพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไปกับการใช้งานพลังงานของร่างกาย

โรคอ้วน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร ?

โรคอ้วน นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

โรคอ้วน ป้องกันได้อย่างไร ?

โรคอ้วน ควรป้องกันตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เพราะโรคอ้วนในเด็กจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น ขาโก่ง นอนกรน ระบบหายใจ หัวใจ พัฒนาการ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งข้อมูลขององค์การอนามัยโลกยืนยันว่า โรคอ้วนในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และภาวะทุพพลภาพ ทั้งนี้ โรคอ้วนสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลสุขภาพ ดังนี้:

  • จำกัดปริมาณอาหารที่มีไขมัน โซเดียม และน้ำตาลสูง
  • เพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืช
  • เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ปรับเปลี่ยนมุมมอง โรคอ้วนคุยกันได้

จากตัวเลขสถิติ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เราทุกคนจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับโรคดังกล่าวมากขึ้น โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าภาวะอ้วนนั้น ไม่ใช่ภาวะที่ร่างกายเราดูไม่ผอมเพรียวตามแบบฉบับพิมพ์นิยม แต่เป็นภาวะที่ร่างกายของเรามีดัชนีมวลกายที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น ตลอดจนป้องกันภาวะอ้วน โดยการควบคุมพฤติกรรมการบริโภค และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาว

ข่าวสุขภาพแนะนำ>>>>บริหารเวลาในการใช้ชีวิตดี มีผลต่อการวิ่ง

บริหารเวลาในการใช้ชีวิตดี มีผลต่อการวิ่ง

บริหารเวลาในการใช้ชีวิตดี มีผลต่อการวิ่ง

บทความดีๆจากเพจ Runner’s journey มาฝาก โดยทางเพจ บอกไว้ว่า อยากวิ่งให้ดี ควรมีนาฬิกา (ชีวิต) ที่ดี ซึ่งตรงนี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญ หากเราบริหารเวลาในการใช้ชีวิตได้ดี ก็จะส่งผลต่อการวิ่ง ที่จะทำได้ดีด้วยเช่นกัน โดยนาฬิกาที่ว่า ไม่ใช่ Sport Watch แต่เป็น Body Clock นาฬิกาชีวิต

รายละเอียดมีอะไรบ้าง ไปเริ่มกันเลย คงจะเคยได้ยินเรื่องทฤษฎี “นาฬิกาชีวิต” ที่ว่าคนเราควรทำสิ่งต่างๆ ตามเวลาของร่างกาย แล้วจะช่วยทำให้เรามีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงขึ้น, เปรียบเหมือนว่าเรามีนาฬิกาอยู่ภายในร่างกาย ที่จะทำให้ง่วงในตอนกลางคืน ตื่นมาทำนู่นนี่ในตอนกลางวัน, เราไม่ได้นอนตอนกลางคืน และตื่นตอนกลางวันเพราะความเคยชิน เพราะตารางงาน หรือความสะดวก แต่ถูกขับเคลื่อนโดยนาฬิกาที่อยู่ในสมอง

สุขภาพ

แสงและอุณหภูมิภายในร่างกายที่เหมาะสม คือปัจจัยหลักที่ควบคุมนาฬิกาของเรา เมื่อเราเห็นแสง สมองจะส่งสัญญาณให้ร่างกาย ชะลอการหลั่งฮอร์โมน Melatonin ทำให้เราตื่น ระบบต่างๆในร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจร, มีบางอย่างที่ทำให้นาฬิกาของเราพัง เช่น การนอนดึก อดนอน นอนไม่เป็นเวลา กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ความเครียด

ถ้านาฬิกาพัง หรือ ถ้าอยากให้นาฬิกาเที่ยงตรง ต้องทำอย่างไร หลักๆ ควบคุมแสงและอุณหภูมิในร่างกาย ยึดตามวัฏจักรธรรมชาติ รับแสงในเวลาเช้าและช่วงกลางวัน เมื่อถึงช่วงเย็นก็ค่อยๆปรับแสงภายในบ้านให้ลดลง เมื่อถึงเวลานอนก็ปิดไฟ ปรับอุณหภูมิห้อง อันนี้รวมถึงแสงสีฟ้าจากจอคอมพ์และจอมือถือด้วย แต่ไม่ต้องปิดผ้าม่าน เพราะเราต้องการรับแสงแดดยามเช้า ตอนพระอาทิตย์ขึ้น ให้ร่างกายถูกกระตุ้นด้วยแสง

เข้านอน และตื่นนอนเป็นเวลา (นอนก่อน 4 ทุ่ม) นอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง, หลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนการนอนทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก เช่น กินให้อิ่มและไม่ดึกจนเกินไป งีบกลางวันไม่เกิน 30 นาที ขับถ่ายให้เป็นเวลา งดคาเฟอีนช่วงบ่าย, การออกไปวิ่ง การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นอีก 1 วิธีที่จะทำให้นาฬิกาของเราไม่รวน และพอนาฬิกาชีวิตไม่รวน เราก็จะสุขภาพดี และมีส่วนสำคัญที่ทำให้วิ่งได้ดี ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่มีเหตุมีผล ใครสนใจ ลองนำไปปฏิบัติได้

แนะนำข่าวสุขภาพเพิ่มเติม : ฝีดาษลิง โผล่ไทยแล้ว

ฝีดาษลิง โผล่ไทยแล้ว

ฝีดาษลิง โผล่ไทยแล้ว ! สธ. ยืนยันพบผู้ป่วยที่ จ.ภูเก็ต ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

กรมควบคุมโรค แถลงข่าวพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิง ที่ จ.ภูเก็ต เป็นรายแรกของประเทศไทย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เปิดข้อมูลโรคนี้ติดต่อกันอย่างไร

ฝีดาษลิง โผล่ไทยแล้ว !
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กองระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย

ฝีดาษลิง โผล่ไทยแล้ว !01

ผู้ป่วยให้ข้อมูลการป่วยว่า เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค ผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต เพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม พร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโรค ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร

โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอย่างไร

จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น